วันอังคารที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2555

สาระและมาตรฐานการเรียนรู้

สาระและมาตรฐาการเรียนรู้


สาระที่ ๑ ภาษาเพื่อการสื่อสาร
มาตรฐาน ต ๑.๑ เข้าใจและตีความเรื่องที่ฟังและอ่านจากสื่อประเภทต่างๆ และแสดงความคิดเห็น
อย่างมีเหตุผล
มาตรฐาน ต ๑.๒ มีทักษะการสื่อสารทางภาษาในการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร แสดงความรู้สึก และ
ความคิดเห็นอย่างมีประสิทธิภาพ

มาตรฐาน ต ๑.๓ นำเสนอข้อมูลข่าวสาร ความคิดรวบยอด และความคิดเห็นในเรื่องต่างๆ โดยการ
พูดและการเขียน


สาระที่ ๒ ภาษาและวัฒนธรรม
มาตรฐาน ต ๒.๑ เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างภาษากับวัฒนธรรมของเจ้าของภาษา และนำไปใช้ ได้
อย่างเหมาะสมกับกาลเทศะ
มาตรฐาน ต ๒.๒ เข้าใจความเหมือนและความแตกต่างระหว่างภาษาและวัฒนธรรมของเจ้าของภาษา
กับภาษาและวัฒนธรรมไทย และนำมาใช้อย่างถูกต้องและเหมาะสม


สาระที่ ๓ ภาษากับความสัมพันธ์กับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่น
มาตรฐาน ต ๓.๑ ใช้ภาษาต่างประเทศในการเชื่อมโยงความรู้กับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่น และเป็น
พื้นฐานในการพัฒนา แสวงหาความรู้ และเปิดโลกทัศน์ของตน


สาระที่ ๔ ภาษากับความสัมพันธ์กับชุมชนและโลก
มาตรฐาน ต ๔.๑ ใช้ภาษาต่างประเทศในสถานการณ์ต่างๆ ทั้งในสถานศึกษา ชุมชน และสังคม
มาตรฐาน ต ๔.๒ ใช้ภาษาต่างประเทศเป็นเครื่องมือพื้นฐานในการศึกษาต่อ การประกอบอาชีพ และ
การแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับสังคมโลก


สาระการเรียนรู้แกนกลาง

   ตัวอักษร เสียงตัวอักษรและสระ การสะกดคํา และ
   ประโยค หลักการอ่านออกเสียง เช่น
-  การออกเสียงพยัญชนะต้นคําและพยัญชนะท้ายคํา 
-  การออกเสียงเน้นหนัก-เบา ในคําและกลุ่มคํา
-  การออกเสียงตามระดับเสียงสูง-ต่ำ ในประโยค



 คํา  กลุ่มคํา ประโยคเดี่ยว (simple sentence) และ
ความหมาย  เกี่ยวกับตนเอง ครอบครัว โรงเรียน 
สิ่งแวดล้อมใกล้ตัว อาหาร เครื่องดื่ม และ
นันทนาการ เป็นวงคําศัพท์สะสมประมาณ ๒๕๐-
๓๐๐ คํา (คําศัพท์ที่เป็นรูปธรรรม)

ประโยค บทสนทนา หรือนิทานที่มีภาพประกอบ 
ประโยคคําถามและคําตอบ
- Yes/No Question เช่น  
   Is this/that a/an..?        Yes, it is./No, it isn’t.      
    etc.    
- Wh-Question เช่น 
   What is this/that/it?    This/that/It is a/an…
   How many…?            There is/are…
   Where is the…?          It is in/on/under…   etc.